ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design)

1. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์คืออะไร

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิทธิที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามกฎหมายกำหนดเป็นพิเศษ โดยให้สิทธิที่จะผลิตสินค้า และจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศหรือยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

2. ผลที่ได้รับจากสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิใช้ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย หรือมีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เว้นแต่การใช้แบบผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย

3. เงื่อนไขการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมยังไม่เคยมีหรือใช้แพร่หลายหรือได้เปิดเผยภาพ อันเป็นสาระสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งสามารถผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

4. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

2. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

5. ขั้นตอนการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

5.1 หลักฐานการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ลำดับ หลักฐาน
1

แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ได้เน้นสีเหลือง ในส่วนที่ต้องใส่รายละเอียด ได้แก่

  • ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
  • ชื่อผู้ประดิษฐ์ (ทุกคน)
  • หน่วยงานต้นสังกัด
  • ตัวเลขจำนวนหน้าของแต่ละส่วน ซึ่งการนับหน้าจะแบ่งการนับเป็น 4(5) ชุด ได้แก่ ชุดแบบพิมพ์คำขอ ชุดรายละเอียดการประดิษฐ์ ชุดข้อถือสิทธิ ชุดบทสรุปการประดิษฐ์ และชุดรูปเขียน (ถ้ามี)
2 คำอธิบายการเขียนรายละเอียดการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการอธิบายแต่ละหัวข้อว่ามีรายละเอียดและหลักการเขียนอย่างไร
3 รูปแบบรายละเอียดการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นแบบฟอร์มที่มีการเขียนเลขหน้า และเลขบรรทัด ตามแบบฟอร์มมาตรฐาน
4

หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร โดยศูนย์ฯ ได้เน้นสีเหลือง ในส่วนที่ต้องใส่รายละเอียด ได้แก่

  • วันที่
  • ชื่อผู้ประดิษฐ์ (ทุกคน)
  • หน่วยงานต้นสังกัด
  • ชื่อที่แสดงถึงการสิ่งประดิษฐ์
5.2 ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ลำดับ รายละเอียด
1 ผู้ประดิษฐ์ตรวจทาน/แก้ไข แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร รายละเอียดการประดิษฐ์ และหนังสือสัญญาโอนสิทธิ์
2 ส่งไฟล์กลับมายังอีเมลศูนย์ฯ tu.tuipi@gmail.com เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ทำความเข้าใจ และแก้ไขส่งกลับไปให้ผู้ประดิษฐ์ อ่านเนื้อหาอีกครั้งว่ายังมีเนื้อหาที่ตรงกับความประสงค์ของผู้ประดิษฐ์หรือไม่
3 เมื่อเห็นว่าถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ให้ผู้ประดิษฐ์ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน ส่งไฟล์ที่แก้ไขกลับมายังอีเมลศูนย์ฯ อีกครั้ง
4 เมื่อหลักฐานครบ รายละเอียดการประดิษฐ์ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานการยื่นคำขอที่ได้และเลขที่คำขอรับสิทธิบัตร ส่งคืนเจ้าของผลงานทั้งในรูปของ เอกสาร (Hard copy) และไฟล์ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานร่วมกันกับศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต่อไป
5.3 เรื่องความเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มี 2 กรณีดังนี้
ลำดับ ความเป็นเจ้าของ รายละเอียด
1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1. ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า “ผลงานสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรที่ได้ถือเป็นสิทธิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้นจึงต้องมีการเซ็นยินยอมโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ทุกท่าน ซึ่งมีฐานะเป็น “ผู้โอนสิทธิ” ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย “ผู้รับโอนสิทธิ” คือ อธิการบดี และมีระเบียบการแบ่งปันผลประโยชน์ตามเอกสารแนบ (ข้อดีของการโอนสิทธิให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากกรทรัพย์สินทางปัญญาในทุกขั้นตอน)
2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับสถาบันอื่นๆ 2. หากมีการทำวิจัยร่วมกับบุคลากรจากสถาบันอื่น ผลงานสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรนั้นต้อง ถือเป็นสิทธิบัตรร่วมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับสถาบันนั้นๆ และต้องมีการเซ็นยินยอมโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ทุกท่าน ให้ทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันดังกล่าว และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ตามข้อตกลงร่วมกันของ 2 สถาบัน

6. แบบฟอร์มในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

01. แบบ สป/สผ/อสป/001-ก คำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

02. แบบ สป/สผ/อสป/001-ก(พ) คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

03. Form PI/PD/PP/001-A (Add) Statement of Applicant's Right to Apply For a Pattent/Petty Patent

04. แบบ สป/อสป/004-ก คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ์

05. แบบ สป/สผ/อสป/003-ก คำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

06. แบบ สป/สผ/อสป/005-ก คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์

07. แบบคำร้องขอให้หน่วยงานอื่นตรวจสอบการประดิษฐ์

08. แบบคำร้องขอคืนเงินค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการประดิษฐ์

09. แบบ สป/สผ/007-ค คำคัดค้าน

10. แบบ สป/สผ/008-ก คำโต้แย้ง

11. แบบ สป/สผ/อสป/009-ก คำอุทธรณ์

12. แบบ สป/สผ/005-ก(พ) คำขอนำพยานหลักฐานมาแสดงหรือแถลงเพิ่มเติม

13. แบบ สป/สผ/205-ก คำขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

14. แบบ สป/สผ/อสป/206-ค คำขอจดทะเบียนการโอนและการรับโอนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรโดยทางมรดก

15. แบบ สป/สผ/อสป/010-ก คำขอชำระค่าธรรมเนียมรายปี/คราวเดียว/ต่ออายุ

16. แบบ สป/สผ/อสป/006-ก คำขอตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร และคัดสำเนา

17. แบบ สป/สผ/อสป/002-ก คำขอถือสิทธิให้ถือวันยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกเป็นวันยื่นคำขอในไทย

18. แบบ สป/สผ/อสป/011-ก คำขออื่นๆ

7. ฐานข้อมูลสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ระบบสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรออนไลน์ (DIP)

USPTO Patent Full

Espacenet Patent Search

PATENTSCOPE

Japan Platform for Patent Information

KIPRIS

AusPat

DEPATISnet

WIPO

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ห้อง 114 ชั้น 1 อาคารโดมบริหาร 99 หมู่ 18 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังวหัดปทุมธานี 12120
Telephone: 02-5644440 ต่อ 1664-1665, 1789 Mobile Phone Number: 02-5642887
E-mail: tu_tubi@hotmail.com, tu.tuipi@gmail.com

Copyright © 2016 TUIPI. All rights reserved.